ป้องกันภาวะสมองเสื่อม

4 เทคนิค ป้องกันภาวะสมองเสื่อม


วันนี้ผมขออนุญาตคัดลอกบทความเรื่อง "4 เทคนิค ป้องกันภาวะสมองเสื่อม" จากเว็บของ สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เขียนโดยคุณ Patana Kamta มาให้อ่านกัน และขอแนะนำให้เปิดดูเว็บนี้ เนื่องจากมีคำแนะนำเรื่องการรักษาสุขภาพ ที่มีประโยชน์ที่เราควรรู้มากมาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่ควรระมัดระวังเรื่องสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายอยู่ในวัยร่วงโรย  เมื่อเป็นอะไรทีกว่าจะฟื้นคืนสภาพต้องใช้เวลานานกว่าคนหนุ่มสาว เชิญอ่านกันได้ครับ




สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ มีผู้สูง
อายุเพิ่มจำนวนมากอย่างรวดเร็ว โดยคาด
การณ์ว่าในปี 2593 ไทยจะมีผู้สูงอายุล้นเมือง 
คือมีมากถึงร้อยละ 27 ของประชากรทั้ง
ประเทศ 

ซึ่งปัญหาสำคัญคือ นอกจากขาดแคลน
แรงงานที่จะมาช่วยพัฒนาประเทศแล้ว ค่าใช้
จ่ายด้านสุขภาพในการดูแลร่างกายวัยปลด
เกษียณคงบานปลายจนเกินกว่าภาครัฐจะรับได้
ไหว
เพราะต้องยอมรับว่า ผู้สูงอายุที่ร่างกายเสื่อมโทรม
และสึกหรอไปตามวัย คงไม่สามารถคงสภาพความ
แข็งแรงไว้ได้ดังเดิม โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ
จิต 

ที่เป็นปัญหามากก็คือ 20% ของผู้สูงอายุ มักต้อง
ทนทุกข์ทรมานอยู่กับปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหา
ทางระบบประสาท โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม!!
ซึ่งภาวะดังกล่าว นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข 
อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า เป็นความผิด
ปกติในการทำงานของสมอง ที่ได้รับผลกระทบจาก
โรค หรือความผิดปกติบางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยมี
อาการความจำเสื่อม มีความถดถอยของพฤติกรรม
และบุคลิกภาพ เกิดอาการสับสน และอาการผิด
ปกติด้านการพูดและความเข้าใจ อาการเหล่านี้จะ
รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทบกระเทือนกับการใช้
ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมของผู้ป่วย

"คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม
ประมาณ 35.6 ล้านคน ทุก 20 ปี จะมีปริมาณ
ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และภายในปี ค.ศ. 
2050 จะมียอดผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรวมกว่า 
115.4 ล้านคน โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่
พบได้บ่อยที่สุดร้อยละ 60-80 ของภาวะสมอง
เสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ ภาวะสมองเสื่อม
จากโรคหลอดเลือด สำหรับประเทศไทย 
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เคยคาดการณ์
จำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมไว้ประมาณ 
229,000 คน ในปี 2005 และมีแนวโน้มสูง
ขึ้นโดยโรคอัลไซเมอร์ มีร้อยละ 40-70 ของ
ภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด"




นพ.เจษฎา บอกว่า บางกลุ่มอาการรักษาไม่ได้ 
แต่ก็มีบางกลุ่มอาการที่สามารถรักษาได้ ถ้าค้น
พบสาเหตุได้ชัดเจน การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็ว
และแม่นยำจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่คงไม่เท่าการ
ป้องกันโรคนี้ได้ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 เทคนิคด้วย
กันคือ

1.บริหารสมอง โดยฝึกทักษะการใช้มือ เท้า และ
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้สามารถรับรู้และเคลื่อนไหว
ในรูปแบบต่างๆ ให้ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท
และสมองส่วนต่างๆ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
อย่างเป็นระบบ เช่น เต้นรำ เล่นหมากรุก หมาก
ล้อม โยคะ รำมวยจีน ต่อจิ๊กซอว์ อ่านหนังสือ เขียน
หนังสือ ทำงานบ้านหรืองานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น

2.บริโภคอาหาร โดยรับประทานอาหารครบหมู่ 
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล
สูง รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ หลีกเลี่ยงยา
หรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การ
ดื่มเหล้าจัดหรือการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น 
เลือกรับประทานอาหารที่บำรุงสมอง เช่น ธัญพืช
หรือถั่ว ผักใบเขียวทุกชนิด ถั่วเหลือง อัลมอนด์ 
เมล็ดฟักทอง ผลไม้รสเปรี้ยว ปลาทะเลน้ำลึก ปลา
ทูน่า เป็นต้น

3.รักษาร่างกาย โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
ตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวอยู่เดิม
ก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ หากมีอาการเจ็บ
ป่วยควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น โดยเฉพาะในผู้สูง
อายุ เพื่อลดโอกาสเกิดอาการสับสนเฉียบพลัน ที่
สำคัญ ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการ
หกล้ม เป็นต้น

และ 4.ผ่อนคลายความเครียด โดยการหารูป
แบบที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุดและสามารถ
นำมาใช้ได้กับชีวิตจริง เช่น การฝึกหายใจเข้าออก
ลึกๆ ช้าๆ การฝึกสมาธิ การพูดคุย หรือพบปะผู้อื่น
บ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรมผู้
สูงอายุ เป็นต้น

******

เป็นอย่างไรบ้างครับ 4 ข้อ คงไม่ยากนะครับ โรค

สมองเสื่อม ถ้าใครเป็นแล้ว คนเป็นน่ะไม่ค่อยเท่า

ไหร่เพราะตัวเองไม่รู้เรื่อง แต่คนในครอบครัวจะ

เดือดร้อนเป็นทุกข์ใจในการดูแลเป็นอันมาก...

ขอให้ทุกท่านสุขภาพดีนะครับ

ขอขอบคุณเว็บและเจ้าของบทความที่คัดลอกมา
ด้วยครับ

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์


*******


No Response to "ป้องกันภาวะสมองเสื่อม"

แสดงความคิดเห็น