อนาคตประทศไทย


อนาคตประเทศไทย
 
อนาคตสหกรณ์ฯ
อนาคตคนเกษียณ




นี่แหละครับที่เรียกว่ากฎหมาย 11 ฉบับ ที่ IMF ให้ไทยปฏิบัติ
เพื่อแลกกับการให้กู้เงินมาฟื้นฟูประเทศ
มีการให้แปรรูป(ขาย)รัฐวิสาหกิจรวมอยู่ด้วย
 
 
ถ้าจะย้อนอดีตไปประมาณ 15 ปี ในราว พ.ศ.2540 ประเทศไทยและประชาชนคนไทยได้เผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจการเงินอย่างรุนแรงที่ไม่เคยพบมาก่อน  วิกฤตในครั้งนั้นได้รุกลามแพร่กระจายไปทั่วโลก จนได้รับการกล่าวขานในชื่อว่า วิกฤต "ต้มยำกุ้ง" เพราะว่ามันได้เริ่มต้นขึ้นจากประเทศไทย ที่ชาวต่างชาติรู้จักอาหารไทยที่ชื่อว่า "ต้มยำกุ้ง" เป็นอย่างดี
 
สาเหตุที่เกิดคือ "ฟองสบู่แตก"
 
 
"ฟองสบู่"..... เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าฟองสบู่คือสิ่งที่ฟูฟ่องเป็นฟองใหญ่โต ดูสวยงามแต่ข้างในไม่มีอะไรเลย มีแต่ฟองอากาศ อาการของฟองสบู่แตกก็คือเหลือแต่ความว่างเปล่า มีแต่อากาศนั่นเอง
 
การเกิดภาวะเศรษฐกิจที่เรียกว่าฟองสบู่ ก็คือเศรษฐกิจที่ดูจากภายนอกเห็นเฟื่องฟูสวยงาม แต่แท้จริงแล้วมีแต่ความว่างเปล่ากลวงโบ๋
 
ก่อนหน้านั้น ในยุคของรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ที่มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ธุรกิจในช่วงนั้นเฟื่องฟูมาก การซื้อขายที่ดินทำกันวันต่อวัน ที่ดินท้องนาจากไร่ละไม่กี่ร้อยบาท สามารถปั่นราคาขึ้นเป็นหมื่นเป็นแสนภายในเวลาไม่นานนัก มีผู้กระโจนเข้าสู่อาชีพนักเก็งกำไร นักเล่นหุ้นกันอย่างมากมาย บางคนลาออกจากงาน ไปนั่งอยู่ตลาดหุ้นอยู่สักครึ่งวัน บอกอย่างไม่ได้ๆก็ได้ค่ากับข้าวสามสี่พันบาทแล้ว
 
ไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรร คอนโด ทาวน์เฮ้า ยังไม่ท้นลงมีอสร้างก็มีคนจองแล้ว แล้วคนจองนั้นก็สามารถขายใบจองโดยบวกกำไรกันต่อๆไปเป็นช่วงๆ การเกิดรายได้หรือกำไรจากธุรกิจเช่นนี้เป็นธุรกิจที่ไม่ได้เกิดจากผลผลิต มันมีแต่ความว่างเปล่า  คือไม่ได้เกิดจากสินค้าที่ผลิต เป็นกำไรที่เกิดจากการเก็งกำไร และผู้ที่จะรับเคราะห์ก็คือผู้ถือครองคนสุดท้าย  ตัวอย่างเช่นแชร์น้ำมันหรือแชร์ชะม้อยเป็นต้น
 
 
 
 
ประกอบกับเวลานั้นรัฐบาลได้มีนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน  นโยบายนี้ทำให้เงินตราจากต่างประเทศสามารถเคลื่อนย้ายเข้ามาลงทุนในประเทศได้โดยเสรี  และโดยที่ขณะนั้นดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศมาก สถาบันทางการเงินหรือนักธุรกิจนักลงทุนจึงกู้เงินจากต่างประเทศกันเป็นการใหญ่ เพื่อนำมาลงทุนหรือนำมาใช้ในการเก็งกำไร ณ เวลานั้นผู้บริหารธนาคารหรือผู้บริหารสถาบันทางการเงินมีชีวิตที่อูฟู  มีห้องทำงานอย่างหรู มีรถประจำตำแหน่งราคาแพง รับโบนัสกันเป็นสิบๆเท่า  ใช้ชีวิตกันอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย
 
ในที่สุดบ้านจัดสรร คอนโดที่นักลงทุนกู้เงินจากต่างประเทศมาสร้างกันเป็นจำนวนมากก็ขายไม่ออก เพราะผู้ที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงก็ซื้อกันหมดแล้ว  เหลือแต่ผู้ซื้อไว้เพื่อเก็งกำไรวนกันไปวนกันมา ซึ่งผู้เก็งกำไรก็รู้แล้วว่าราคาสุดท้ายมันควรจะเป็นเท่าไหร่ ก็หยุดซื้อคนสุดท้ายก็ต้องถือไว้ ถ้ากู้เงินเขามาลงทุนก็ต้องนั่งส่งดอกเบี้ยอีกต่างหาก
 
ส่วนที่ดินที่ซื้อเก็งกำไรกันไว้มากมาย เมื่อไม่มีผู้ซื้อหน้าใหม่เข้ามา  ผู้ซื้อคนสุดท้ายก็ต้องรับกรรมไป  เช่นเดียวกับการเล่นแชร์ที่ให้กำไรอย่างงาม  โดยเอาเงินของลูกแชร์รายใหม่มาให้ลูกแชร์รายเก่า ถ้าหาลูกแชร์ใหม่ไม่ได้ก็จบ   อย่าลืมว่าในโลกนี้ไม่มีของฟรี
 
 
 
 
 
เศรษฐกิจที่เกิดจากการเก็งกำไร  มันไม่ใช่เศรษฐกิจที่แสดงถึงความมั่งคั่งมั่นคงของชาติ คือมันเป็น Non Product เป็นเศรษฐกิจกลวงๆ ที่เหมือนฟองสบู่  จึงเป็นช่องทางที่ผู้รู้จุดอ่อน มองเห็นหนทางที่จะหาประโยชน์ตรงจุดนี้
 
เอากันสั้นๆ หลังจากไอ้จอร์จ โซรอส ที่เค้าเรียกกันว่า "พ่อมดทางการเงิน" หรืออีกหลายฉายา เห็นจุดอ่อนตรงนี้ก็เข้ามาโจมตีค่าเงินบาทเพื่อเก็งกำไร รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ในขณะนั้นก็ทุ่มเงินบาทลงไปสู้เต็มที่ เพื่อรักษาค่าของเงินบาทไว้ แต่ก็สู้ไอ้จอร์จไม่ไหว  ต้องยอมปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว
 
คิดดูสิครับคนที่กู้ฝรั่งมา 1 ดอลล่าร์ในขณะนั้นรู้สึกว่าจะประมาณ 21-23 บาท(จำไม่ได้) แต่ต้องใช้คืนประมาณสี่สิบกว่าบาทหรือไงนี่จำไม่ได้เช่นกัน  และที่กู้กันมาไม่ใช่แค่เหรียญสองเหรียญ แต่กู้กันเป็นร้อยล้านพันล้าน แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้ทรัพย์สิน สินค้าอะไรก็ไม่มี มีแต่ลม   ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ให้กู้ไปเก็งกำไร เจ๊งกันเป็นแถวๆ
 
ยุคนั้นจึงเกิดศัพท์ใหม่ขึ้นมาคำหนึ่งคือ "คนเคยรวย" นักธุรกิจ คนทำงานเกี่ยวกับเงินๆทองๆต่างตกงานกันเป็นแถว ใครส่งลูกไปเรียนเมืองนอกก็ต้องกลับ (ลูกผมอยู่อังกฤษยังต้องเพิ่มค่าเทอมอีกเท่าตัว ก็ไม่พ้นต้องกู้สหกรณ์ฯส่งไปให้...ต้องขอบคุณสหกรณ์ฯที่ให้กู้ยันเกษียณ)
 
อ้อ...อีกคำคือ "ไม่มี....ไม่จ่าย.....ไม่หนี" ของเจ้าพ่อเหล็กเส้น(จำชื่อไม่ได้) แกก็พูดของแกอย่างนี้ ก็มันไม่มี(เจ๊ง)แล้วจะเอาที่ไหนไปจ่าย  แต่ตอนหลังได้ข่าวว่าแกคงค่อยฟี้นตัว ก็คงค่อยๆเคลียร์หนี้ไป อย่างนี้เรียก "นักเลงจริง"
 
สรุปได้ว่าภาวะวิกฤตในครั้งนั้นได้ทำให้ชีวิตประชาชนคนไทยเปลี่ยนแปลงไปครั้งยิ่งใหญ่  คนเคยรวยก็กลายเป็นจน  คนที่จนอยู่แล้วก็จนหนักไปอีก เด็กบางคนต้องเปลี่ยนโรงเรียนหรือไม่ได้เรียนเลย  บางคนรับความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถึงกับฆ่าตัวตาย
 
แม้แต่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินของชาติ  เมื่อชาติอยู่ในภาวะใกล้ล้มละลาย  ทรัพย์สินต่างๆที่มีอยู่ก็ถูกบังคับให้ขายเพื่อนำเงินไปใช้หนี้  กฟน.ก็อยู่ในข่าย ถึงแม้จะรอดการแปรรูปมาได้  ก็ได้ถูกบังคับให้เปลียนแปลงหลายอย่างเช่นการจ้างบุคคลภายนอก หรือการลดขนาดเช่นโรงพยาบาล ซึ่งทุกอย่างย่อมมีผลกระทบต่อพนักงานทั้งสิ้น  โดยเฉพาะเรื่องโรงพยาบาล ผู้ได้รับผลอย่างมากก็คือผู้เกษียณ
 

พน้กงานที่อายุยังน้อยคงไม่ได้ผ่านพบประสบการณ์นี้ แต่พ่อแม่ก็ต้องเจอมาบ้างแล้ว แต่ละคนคงรู้รสกันดี แต่คนที่อยู่ในรัฐวิสาหกิจก็ยังถือว่าโชคดีอยู่มาก ผู้ที่เดือดร้อนมากคือผู้ที่อยู่ในวงการการเงิน พ่อค้า นักธุรกิจ คนไม่มีเงินไปผ่อนรถผ่อนบ้าน ธนาคารหรือไฟแนนซ์ก็เจ๊ง มันลามเป็นลูกโซ่  คนไม่มีเงินจับจ่าย  พ่อค้าก็เจ๊ง
 
 
 
 
 
 

ที่รื้อฟี้นเรื่องนี้ขึ้นมาพูด  เพราะดูๆแล้วเกรงว่าประวัติศาสตร์มันจะย้อนกลับมาอีกครั้ง และที่น่ากลัวคือ  ไม่ว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ในระดับ "กูรู" ของต่างประเทศและของไทยต่างกล่าวว่า ถ้าเกิดกรณี "ต้มยำกุ้ง" ขึ้นในประเทศไทยขึ้นอีก  ครั้งนี้จะรุนแรงกว่าครั้งก่อนหลายเท่านัก  อาจจะถึงขั้นยากจะเยียวยา
 
เหตุที่ กูรู ทั้งหลายพยากรณ์ออกมาอย่างนั้น เกิดจากการวิเคราะห์นโยบาย "ประชานิยม" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั่นเอง  ไม่ว่าจะเป็นการประกันราคาข้าว ประกันพืชผลทางการเกษตร การคืนภาษีรถยนต์คันแรก  ค่าแรงขั้นต่ำ  เงินเดือนปริญญาตรี ฯลฯ  ว่ากันว่าภายใน 1-2 ปี จะมีปัญหาการผ่อนส่งรถคันแรกที่ฐานะทางการเงินยังไม่พร้อม  แต่ต้องการใช้สิทธิ์  ถึงเวลานั้นวงการไฟแนนซ์คงปั่นป่วนพอสมควร
 
การใช้เงินจำนวนมากเป็นแสนๆล้าน หรือถึงขนาดเป็นล้านล้าน  โดยสามารถหารายได้เข้าประเทศได้น้อย  ประเทศก็เหมือนคนละครับ  มีรายได้น้อยแต่ใช้จ่ายมาก  สักวันหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ต้องล้มละลาย
 
นโยบาย ประชานิยมนี้ได้ถูกติติงทักท้วงจากผู้รู้หลายฝ่าย นอกจากอาจารย์,นักวิชาการแล้วก็มี  สถาบันเช่น TDRI หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นที่ปรึกษาหรือเรียกได้ว่าเป็นฝ่ายรัฐบาลเช่นอาจารย์วีรพงษ์ รามางกูร , ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรืออดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ยังทนไม่ได้ ฯลฯ  แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งนโยบายนี้ได้
 
จากปรากฏการณ์ในต่างประเทศ เช่นประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศสเปน ประเทศกรืซ ได้เกิดความล่มสลายหนี้สินล้นพ้นตัวจนบ้านเมืองก่อการจราจลวุ่นวายไปทั่ว  รัฐบาลไหนเข้ามาก็แก้ไม่ได้  จะเลิกแจกเลิกแถม ประชาชนก็ไม่ยอม  นี่ก็กลัวอยู่เหมือนกัน ถ้ายกเลิกการรักษาพยาบาล คนเกษียณก็แย่แล้ว
 
มีนักวิจารณ์ต่างประเทศวิจารณ์ว่า ถ้าประเทศไทยยังใช้นโยบายนี้ต่อไป  อีกไม่เกิน 5 ปี เจ๊งแน่ และที่มีนักวิชาการอีกส่วนบอกว่า ถ้าเกิดครั้งนี้จะรุนแรงกว่าครั้งก่อนหลายเท่านัก  เมื่อนำคำพยากรณ์สองส่วนนี้มารวมเข้าด้วยกันจึงสรุปได้ว่า  ถ้ารัฐบาลยังใช้นโยบายประชานิยมเช่นนี้ต่อไป อีกไม่เกิน 5 ปี เจ๊งแน่ และจะรุนแรงกว่าต้มยำกุ้งคราวที่แล้วหลายเท่านัก
 
ที่ผมนำมาพูดนี่  ไม่ใช่กระต่ายตื่นตูม  แต่เป็นการเตือนสติ ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท  อย่าลืมว่า กฟน. เป็นทรัพย์สินของรัฐ(ไม่ใช่รัฐบาล) ถ้ารัฐหมดเนื้อหมดตัวขึ้นมาก็ต้องขายสมบัติ เช่นที่ IMF เคยบังคับไทยมาแล้ว  ถึงเวลานั้นสถานะพนักงานจะเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้
 
สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นองค์กรที่ผูกพันผลประโยชน์อยู่กับสมาชิกที่ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) เป็นพนักงาน กฟน.และอดีตพนักงาน (ผู้เกษียณ)  ถ้าสถานะของพนักงานเปลี่ยนไป  สถานะของสหกรณ์จะเป็นอย่างไร มีนโยบายการวางแผนการบริหารอย่างไร  ขอฝากไว้ที่ผู้อาสาเข้ามาบริหารสหกรณ์ด้วยครับ  การเตรียมพร้อมอย่างไม่ประมาท  ถ้ามันไม่เกิดมันก็ไม่เสียหายอะไร   ส่วนการเตรียมอะไรเตรียมอย่างไร  ก็เป็นหน้าที่คณะกรรมการบริหารสหกรณ์จะต้องคิดละครับ
 
เพราะผมเชื่อมั่นในตะกร้าใบนี้ และก็มีไข่อยู่ไม่กี่ใบเองจึงใส่ตะกร้าไว้ใบเดียวนี่แหละครับ ถ้าตะกร้าใบนี้ตกไข่แตกหมด ผมก็จบล่ะครับ
 
ก็ขอบ่นแค่นี้แหละ ตามประสา ส.ว.  นั่งดูข่าวรัฐบาลจะกู้ทีเป็นแสนๆล้าน ทั้งที่ตุนข้าวไว้ยังขายไม่ออก กู้มาก็ใช่ว่าจะถึงชาวนาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไปลงเจ๊นั่นเจ๊นี่  ดูแล้วก็เสียว  หากประเทศไทยเจ๊งจริงๆพวกนี้ก็เผ่นไปนอนลูบพุงในคฤหาสถ์เมืองนอกหมดแล้ว  ก็คงเหลือคนอย่างเราที่ "มีทองเท่าหนวดกุ้ง  นอนสะดุ้งจนเรือนไหว" ให้นอนเอาตีนก่ายหน้าผากอยู่เมืองไทยนี่แหละ(วะ)
 
 
 
 
 
ปู่..อย่าซ่ามากนัก เก็บเงินเก็บทองไว้บ้าง
เดี๋ยวเจ๊งแบบประเทศกรีซ แล้วจะหาว่าไม่เตือน
 
 
 
 
 
********************
 
 

No Response to "อนาคตประทศไทย"

แสดงความคิดเห็น